วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียน ประจำวันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


     บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

**ความรู้ที่ได้รับ**

กิจกรรมวันนี้ นำป้ายชื่อไปแปะในหัวข้อว่ามาเรียนกี่โมง  พร้อมกับวาดภาพประกอบเป็นรูปนาฬิกาว่ามา

กี่โมง เรียนเรื่อง ลำดับ ตัวเลข เวลา องค์ประกอบนาฬิกา โดยครูถ้าจะสอนเด็กในเรื่องนี้จะต้องออกแบบ

สื่อให้ครอบคลุม เเละเป็นสิ่งที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้ในชีวิตประจำวัน การจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์เด็ก

ต้องเล่นได้ด้วย 

มอนเตสเซอรรี่ จัดการเรียนรู้จากง่ายไปหายาก ตรวจสอบได้ เล่นกิกรรมบามบทบาทสมมติต่างๆ 

โฮเเลงว์กวท เป็รการเรียนรู้ตามธรรมชาติ ส่วนเรื่องการสรุปผล จะสอนเด็กโดยการทำแผนภูมิเป็นตาราง

เพื่อให้เด็กเข้าใจง่าย เเละได้ให้เด็กเห็นชัดเจน ตัวอย่างอย่างเช่นตารางนม จะเป็นการเเบ่งจำนวนอย่าง

ชัดเจน เเบ่งให้เห็นประโยชน์และโทษ 

ส่วนเรื่องการสอนเบบสาธิตนั้น คือ เป็นลำดับขั้นตอน

สิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้กับคณิตศาสตร์ เช่น



เพลง นับนิ้วมือ



                                นี่คือนิ้วมือของฉัน                   มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว

                                มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว                   มือขวาก็มีห้านิ้ว

                                นับ หนึ่ง สอง สาม สี่  ห้า         นับต่อมา เจ็ด แปด เก้า สิบ

                                นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ                  นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ

นิทาน

เพราะนิทานเป็นสิ่งที่ลำดับเรื่องราว มีจุดเริ่มต้น มีจุดสุดท้าย 

นิทานที่เป็นแบบแผนที่จะสามารถบอกได้ว่าเดินทางอย่างไร เเละจะผ่านจุดไหนบ้าง

รูปแบบการจดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรบเด็กปฐมวัย 

เช่น แบบมอนเตสเซอรรี่ โปรเจคแอพโพส เเบบบูรณาการ เเบบโครงการ เป็นต้น 

นำเสนอโทรทัศน์ครู

นางสาว วัชรี วงศ์สะอาด เลขที่ 16

เรื่องผลไม้แสนสุข

โดยครูให้เด็กเรียนรู้ผลไม้ โดยการให้ชิมผลไม้ต่างๆเเละบอกรสชาติ เเละได้นำเพลงเข้ามาประยุกต์มาใช้

 เป็นเพลงเกี่ยวกับผลไม้ จากนั้นพาไปศึกษา นอกสถานที่ เป็นตลาดในละเเวกนั้น 

ก่อนจะไปมีการเตรียมตัวว่า ต้องเตรียมคำถามไปถามเม่ค้าอย่างไร ให้ถามเกี่ยวกับเรื่องราคา

 จำนวน การวัด หรือคำถามอะไรก็ได้ เป็นการสอนเเบบบูรณาการ เพราะเด็กได้สัมผัสรูปทรงผลไม้

 เรียนรู้เรื่องกิโล เช่น ให้เด็กซื้อส้ม 1 กิโลกรัม เเละครูก็จะใช้คำถามว่า 1กิโลกรัมจะได้ส้มกี่ลูก 




นางสาว วรุวรรณ ชูกลิ่น เลขที่ 17

เรื่องกิจกรรม 5 สัมผัส 

ประสาทสัมผัสที่ 1 การมอง กระบอกพิมพ์ ได้เรียนรู้เรื่องขนาด เรียงจากเล็กไปใหญ่

ประสาทสัผัสที่ 2 การฟัง กระบอกเสียงเเละเป็นเสียงอะไร จะได้เรียนรู้เรื่องระดับโทนเสียง

ประสาทสัมผัสที่ 3 การสัมผัสโดยมือ โดยการสัมผัสผ้า เรียนรู้เรื่อง ความหนา ความบาง 

ประสาทสัมผัสที่ 4 ดมกลิ่น ดมกลิ่นต่างๆ ได้เรียนรู้เรื่อง ขนาดของความหอม มากหอมน้อย 

ประสาทสัมผัสที่ 5 ชิมรส รสต่างๆให้ด็กทดลองชิม ได้เรียนรู้เรื่องปริมาณความหวานมาก หวานน้อย




ความสำคัญในการจัดประสบการณ์แบบูรณาการ 


1.ใช้ในชีวิตประจำวันเเละใช้ได้ในชีวิตจริง เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับคณิตศาสตร์ต่างๆ 

ผสมผสานกันทำให้ผู้เรียนรู้ศาสตร์เดี่ยวๆ

2.ทำให้เกิดการถ่ายทอดถ่ายโอนประสบการณ์ของคณิตศาสตร์ต่างๆเข้าด้วยกัน

ทำให้ผู้เรียนมองเห็นประโยชน์ของสิ่งที่เรียนรู้นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

3.ช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหารายวิชาต่างๆในหลักสูตร จึงทำให้ลดเวลาในการเรียนรู้

4.ช่วยสร้างความรู้ ทักษะเจตคติ "แบบพหุปัญญา"

5.สอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน



       การนำไปใช้

เด็กต้องการอยากรู้อะไร?

เด็กต้องการอยากทำอะไรได้?







**ทักษะ**

ได้กระบวนการคิดการแก้ไขปัญหา เเละได้ช่วยกันระดมความคิดในการตอบคำถามของอาจารย์ผู้สอน 

ได้กระบวนการคิดการทำงานเป็นกลุ่ม เเละได้ทักษะในการถามคำถาม

 ในส่วนที่เพื่อนนำเสนอบทความ เช่น เราไม่เข้าใจหรือฟังไม่ทันก็สามารถตั้งคำถาม ถามได้

 ได้ฝึกเรื่องเหตุผลต่างๆที่บางทีการตอบคำถามอาจราย์อาจเป็นคำตอบที่ไม่ตรงกับเพื่อน

เเละหัดเป็นผู้รับฟังที่ดี




**วิธีการสอน**

สอนโดยการใช้คำถาม เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกกระบวนการคิดคำตอบ 

โดยช่วยกันระดมความคิด จากหลายๆคำตอบ พื่อนำมาเรียบเรียงเป็นคำตอบที่สมบูรณ์ 

โดยอาจารย์จะรับฟังคำตอบอย่างมีเหตุมีผล 

เเละในคำตอบไหนที่ไม่สมบูรณ์อาจารย์ก็จะตอบคำตอบนั้นให้สมบูรณ์แบบครบถ้วน






**ประเมินห้องเรียน**

สภาพห้องเรียนมีความสะอาด เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา 

ไม่ชำรุดทรุดโทรม เครื่องปับอากาศอยู่ในอุณหูมิที่พอดี 

ไม่หนาวเย็นเกินไป เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานได้ดี




**ประเมินตนเอง**

ตั้งใจฟังอาจารย์ผู้สอนเละตอบคำถามในสิ่งที่อาจารย์ถาม 


คิดตามในเรื่องที่อาจารย์สอน

**ประเมินเพื่อน**

เพื่อนๆในห้องให้ความร่วมมือในทุกกิจกรรม

 เเละตอบคำถามกันอย่างสนุกสนานเพราะได้ช่วยกันตอบ

เเละเกิดข้อสงสัยเละทำให้การรียนสนุกสนานยิ่งขึ้น


**ประเมินอาจารย์**

อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย 

อาจารย์ตอบคำถามได้อย่างชัดเจนในเรื่องที่เราอยากจะรู้

 เเละมีการเตรียมตัวในการสอนมาเป็นอย่างดี เนื้อหาครบถ้วน

และมีการสรุปการสอนให้นักศึกษาฟังอย่างชัดเจน 


ถ้าเด็กไม่ชอบคณิตศาสตร์ตั้งเเต่เล็กจะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง?


อาจส่งผลกระทบต่อตัวเด็กเอง เมื่อไปเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น

อาจมีปัญหาการขาดทักษะทางคณิตศาสตร์

เเละเรียนตามเพื่อนในวัยเดียวกันไม่ได้เเละทำให้เป็นเด็กที่คิดคำนวนหรือตัดสินใจอะไรต่างๆได้ยากขึ้น

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียน ประจำวัน ศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558



บันทึกอนุทินครั้งที่ 6



บันทึกการเรียน ประจำวัน ศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558


**ความรู้ที่ได้รับ**



กิจกรรมวันนี้นำป้ายชื่อไปแปะในตารางเช่นเดิม  แต่เป็นหัวข้อเรื่องวันวาเลนไทน์อยากไปเที่ยวที่ไหน


โดยในตารางมีหัวข้อว่าไปเที่ยวที่สวนรถไฟ เที่ยวที่เกาะ เที่ยวน้ำตก


เเละผลสรุปคือ มีคนอยากไปเที่ยวที่สวนรถไป 3 คน คนที่อยากไปเที่ยวเกาะ 12 คน


คนที่อยากไปเที่ยวน้ำตก 3 คน เเต่ถ้าเราจะสรุปอีกอย่างนึงคือ มีคนอยากไปเที่ยวที่มากมากที่สุด


และอยากไปเที่ยวสวนรถไฟและน้ำตกเท่ากัน




นางสาว ศุทธินี โนนริบูรณ์ เลขที่ 14 นำเสนองานวิจัย เรื่อง


การใช้สื่อในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐานด้านการจัดประเภท


ของนางสาว นภาพร เพื่อนำเสนอต่อ   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดยการจัดกิจกรรมนี้ใช้กับเด็กอนุบาล 2 บ้านเจียก จังหวัดอุบล

โดยจัดกิจกรรม 24 กิจกรรม 4 เรื่อง


เรื่องที่ 1  เรื่องรูปทรง  6กิจกรรม

เรื่องที่ 2  เรื่องขนาด    6กิจกรรม

เรื่องที่ 3  เรื่องชนิด      6 กิจกรรม

เรื่องที่ 4  เรื่องสี           6 กิจกรรม


สื่อที่ใช้เป็นสื่อวัสดุในท้องถิ่น เช่น ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้บล็อค กระบอกไม้ไผ่ เป็นต้น

ผลคือ ทำกิจกรรมทั้งหมดเเล้วเด็กมีการเรียนรู้ที่ดีขึ้นเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เเละเข้าใจมากขึ้น





นางสาว ภัทรวรรณ หนูแก้ว เลขที่ 15 นำเสนองานวิจัย เรื่องการใช้กิจกรรมการละเล่นเเบบไทย


เพื่อพัฒนามโนทัศน์  ด้านคณิตศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่


เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่เริ่มต้นของการพัฒนาทุกด้าน ต้องส่งเสริมให้เหมาะสม ต้องรู้จักการเรียนปนเล่น


โดยการละเล่นเเบบไทยนอกจากจะช่วยนำมาประยุกต์ด้านคณิตศาสตร์เเล้วยังเป็นการอนุรักษ์การละเล่น


เเบบไทยด้วย เช่นการนับ การใช้จำนวนคู่-คี่ จำนวนเลข 1-30 โดยใช้กิจกรรมนี้กับเด็กอนุบาล 3


 อายุ 5-6ปี จำนวน 24 คน


โดยจะศึกษาก่อนว่าเด็กสนใจอะไร มีวุฒิภาวะอย่างไร จากนั้นกำหนดจุดประสงค์


วางแผนประสบการณ์ เลือกสื่อ โดยการจัดกิจรรมจัดจากเรื่องง่ายๆใกล้ตัว


 ฝึกทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล




เรียนเกี่ยวกับ นิทาน อย่างเช่นการหานิทานมาเล่าให้เด็กฟัง โดยเป็นรื่องเกี่ยวกับตัวเลข


 เพลง การเเต่งเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับตัวเลข เช่น เพลงนกกระจิบ เป็นต้น


เกม  เกมอาจเกี่ยวกับการจับคู่ จำนวนต่างๆ ลูกเต๋า


 เเละคำคล้องจองเช่นการใชคำสุภาษิต ปริศนาคำทาย


 เป็นการนำสิ่งเหล่านี้มาปรับประยุกต์เข้ากับเนื้อหาวิชา


คณิตศาสตร์ เพื่อให้เด็กไม่รู้สึกว่ากำลังเรียนหรือเป็นการกดดัน  เเต่จะเป็นการเรียนที่เด็กไม่รู้ตัวเเละสนุก


เพลิดเพลินไปกับคณิตศาสตร์


     เเละได้ช่วยกันแต่งเพลง


ไข่ 2 ฟอง กลอง 2 ใบ

 ไก่ 2 ตัว วัว 2 เขา 

 เกาเหลา 2 ชาม

นับไปนับมา 2 อย่างหมดเลย  


    **ทักษะ**

กระบวนคิดกระบวนการการตอบคำถาม


ช่วยกันระดมความคิด อย่างเช่นคิดหัวข้อว่า เราจะไปเที่ยวไหนในวันวาเลนไทน์ เเละเพื่อนไๆก็นำเอาชื่อ


ของตนเองไปแปะในที่ที่อยากไป เเละช่วยกันสรุปผล การเเต่งเพลงที่เป็นเลขคู่ ที่ทุกอย่างเป็นเลขสอง

การทำงานกันเป็นกลุ่ม การตัดกระดาษเเบ่งกัน เเละการคิดว่าถ้ามีกระดาษอยู่ 5 ชิ้นจะสามารถต่อไปกี่

ด้านได้กี่รูป


**วิธีการสอน**

อาจารย์ได้สอนเทคนิคเกี่ยวกับการนำเสนอหน้าชั้นเรียน ว่าควรจะทำแบบใดพูดอะไรก่อน อะไรหลัง

การให้นักเรียนได้คิดในการตอบคำถาม การต่อรูปทรง 5 ชิ้น ว่าจะสามารถต่อออกมาได้มากสุดกี่ชิ้น

โดยไม่ซ้ำกัน



**ประเมินห้องเรียน**

ห้องเรียนมีความสะอาดเรียบร้อยดี

เครื่องปรับอากาศอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม

เก้าอี้พอเพียงสำหรับนักศึกษา

**ประเมินตนเอง**

ตั้งใจฟังในสิ่งที่เพื่อนนำเสนองานวิจัย

 เเละพยายามนึกภาพตามที่เกี่ยวกับกิจกรรมในงานวิจัย 

 เเละตอบคำถามอาจรย์บ้างในบางครั้ง

**ประเมินเพื่อน**

เพื่อนในห้องทุกคนมีสมาธิดี พยามยาช่วยกันคิด

 ช่วยกันตอบคำถาม เช่นการต่อรูปก็มีการพูดคุยปรึกษากันว่าน่าจะต้อได้กี่รูปมี

รูปไหนบ้างที่น่าจะเหมือนกันหรือต่างกัน

**ประเมินอาจารย์**

อาจารย์ได้เเนะนำเทคนิดในการนำเสนอหน้าชั้นเรียน แต่งกายสุภาพ สอนด้วยความทุ่มเท 

หากิจกรรมมาสอดเเทรกในเนื้อหาได้ดีเเละมีประโยชน์ต่อนักศึกษา

ในการเรียนในชั้นเรียนได้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น







วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวัน ศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558




บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


บันทึกการเรียนประจำวัน ศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


**ความรู้ที่ได้รับ**

นางสาว ชนาการณ์ แสนสุข เลขที่ 11

นำเสนอบทความ เรื่องการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

อ้างอิงจาก นิตยา ประพฤติกิจ


เป้าหมายของคณิตศาสตร์ปฐวัย

1.พัฒนาความคิดรวบยอด

2.ใช้กระบวนการหาคำตอบ

3.เข้าใจพื้นฐาน

4.ฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน

5.เพื่อให้เด็กค้นคว้าได้ด้วยตนเอง








เพลง จัดแถว

สองมือเราชูตรง            แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า

ต่อไปย้ายมาข้างหน้า          แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง


เพลง ซ้าย-ขวา

ยืนให้ตัวตรง                    ก้มหัวลงตบมือแผละ

แขนซ้ายอยู่ไหน                 หันตัวไปทางนั้นแหละ



กรอบมาตรฐานการเรียนีู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย




               เด็กเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์?

เนื้อหา ทักษะในกรทำสิ่งต่างๆได้พื้นฐาน เพื่อต่อยอดไปยังประถม ลงมือปฎิบัติ จับต้องได้




สาระที่ 1 จำนวนเเละการดำเนินการ

สาระที่ 2.การวัด

สาระที่ 3.เรขาคณิต

สาระที่ 4.พีชคณิต

สาระที่ 5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

สาระที่ 6.ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์


คุณภาพเด็กเมื่อจบอนุบาล 3

1.มีความคิดเชิงคณิตศาสต์ร์

-จำวนนับ 1-20

-เข้าใจหลักการนับ

-รู้ค่าจำนวน

-เปรียบเทียบเรียงลำดับ


2.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน เวลา

-เปรียบเทียบ เรียงำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร

-รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร

-เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกเวลา


3.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเรขาคณิต

-ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง

-รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ


4.มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีสัมพันธ์อย่างใดอย่างหน่ง


5.มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอขอมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย


6.ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น



สาระและมาตรฐานการเรียนรู้สู่การปฎิบัติ


สารที่ 1. เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง

การรวบรวมและการแยกกลุ่ม

ความหมายของการรวม

การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10 


สาระที่ 2 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน เวลา


สาระที่ 3 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง


รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจ การเปลี่ยนแปลงเรขาคณิตที่เกิดจากการกระทำ


สาระที่4 แบบรูปรูปและความสัมพันธ์


สาระที่ 5 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งเเวดล้อมและนำเสนอข้อมูลอย่างงาย


สาระที่ 6 แก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อตวามหมายทางคณิตศาสตร์




**ทักษะ**

ได้ทักษะกระบวนการทางความคิดในการตอบคำถาม 

เกี่ยวกับเรื่องมาตรฐานทางคณิตศาสตร์



**วิธีการสอน**

โดยการถามตอบคำถาม เพื่อให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์

 โดยให้นักศึกษาช่วยกันตอบ




**ประเมินห้องเรียน**

สภาพห้องเรียนปกติ มีเก้าอี้ที่เพียงพอต่อนักศึกษา พื้นสะอาด



**ประเมินตนเอง**

ตั้งใจฟังเรื่องที่อาจารย์สอน พยายามคิดตาม

 และตอบคำถาม



**ประเมินเพื่อน**

เพื่อนในชั้นเรียนให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม

 ทุกคนตั้งใจฟังเรื่องที่อาจารย์สอนอย่างตั้งใจ เเละช่วยกันมีส่วนร่วม




**ประเมินอาจารย์**

อาจารย์มีความพร้อมในการเรียนการสอน มีการเตรียมตัวอย่างดี เนื้อหาที่สอนได้ครบถ้วน อธิบายได้

อย่างชัดเจนเเละเข้าใจง่าย